ไฟกระชากแอร์เสีย เกิดจากอะไรพร้อมวิธีป้องกัน รู้ก่อนแอร์พัง !
ถ้าหากจู่ ๆ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านมีอาการติด ๆ ดับ ๆ ทำงานได้ไม่ปกติ นี่อาจเป็นสัญญาณของไฟตก ไฟกระชาก ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งเรื่องของสภาพอากาศ การใช้งานไฟฟ้า ณ ขณะนั้น และระยะห่างจากแหล่งต้นกำเนิดไฟ
ปัญหาไฟตก ไฟกระชากนั้นทั้งทำให้รำคาญใจ รวมถึงส่งผลเสียต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาจทำให้อายุการใช้งานสั้นลง ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และอาจเป็นอันตรายได้ ต้องรีบแก้ไขและป้องกันโดยด่วน
หลาย ๆ บ้านคงเคยปัญหาไฟตก หรือไฟกระชากเวลาฝนตกหนัก แอร์ติด ๆ ดับ ๆ หลอดไฟกะพริบไม่หยุด วูบไปทั้งบ้าน หรือดูทีวีอยู่เพลิน ๆ จอก็ดับไปซะอย่างนั้น จนกลัวว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ หรือแอร์จะเสียซะก่อน วันนี้ Daikin เลยจะพามาดูสาเหตุของไฟตกและไฟกระชาก พร้อมวิธีป้องกัน เพื่อให้แอร์รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ในบ้านอยู่กับเราไปนาน ๆ นั่นเอง
ไฟตก ไฟกระชากคืออะไร ?
ซึ่งทั้งไฟตกและไฟกระชาก ส่งผลเสียกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเราอย่างมาก ปล่อยไว้ไม่ดีแน่ หลาย ๆ คนก็คงอยากรู้ว่าแล้วอาการเหล่านี้นั้นเกิดขึ้นเพราะอะไร เพื่อจะได้หาวิธีป้องกันไม่ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือแอร์เสียซะก่อน วันนี้ไดกิ้นเลยจะพาไปดูสาเหตุของไฟตก ไฟกระชากกัน
4 สาเหตุของไฟตก ไฟกระชาก
1.บ้านใกล้เคียงแย่งกันใช้ไฟ
หากอาศัยอยู่ในละแวกที่มีคนอยู่หนาแน่น ไม่ว่าจะเป็นในหมู่บ้าน แหล่งชุมชน หรือแม้แต่คอนโด นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไฟกระชาก หรือไฟตก จนเสี่ยงแอร์เสีย หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าพังเหมือนกัน เพราะเกิดการแย่งกันใช้ไฟฟ้ามากเกินไปในช่วงระยะเวลานั้น ๆ จนทำให้กำลังไฟฟ้าต้นทางมีไม่เพียงพอนั่นเอง
2.ฟ้าฝนตกหนัก
อาการไฟตก ไฟกระชากมักจะเกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ ในสภาพอากาศแปรปรวน โดยเฉพาะในหน้าฝน ทั้งฝนตกหนัก พายุแรง ฟ้าร้อง หรือฟ้าผ่า จนทำให้การจ่ายกระแสไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอ ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ดี ๆ ก็อาจจะติด ๆ ดับ ๆ แอร์ไฟตกได้
3.ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทีเดียวพร้อมกันหลายเครื่อง
ใครอยู่บ้านแบบครอบครัวใหญ่ มีสมาชิกอยู่กันหลายคน ก็คงหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าพร้อมกันหลาย ๆ เครื่องไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นแอร์ ทีวี คอมพิวเตอร์ หรือมีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการกำลังไฟสูง ๆ นี่ก็อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของอาการไฟตก ไฟกระชากได้เช่นกัน
ขนาดมิเตอร์ | ขนาดการใช้ไฟฟ้า |
---|---|
มิเตอร์ 5(15) เฟส 1 | ไม่เกิน 10 แอมแปร์ |
มิเตอร์ 15(45) เฟส 1 | 11-30 แอมแปร์ |
มิเตอร์ 30(100) เฟส 1 | 31-75 แอมแปร์ |
มิเตอร์ 50(150) เฟส 1 | 76-100 แอมแปร์ |
มิเตอร์ 15(45) เฟส 3 | ไม่เกิน 30 แอมแปร์ |
มิเตอร์ 30(100) เฟส 3 | 31-75 แอมแปร์ |
มิเตอร์ 50(150) เฟส 3 | 76-100 แอมแปร์ |
มิเตอร์ 200 เฟส 3 | 101-200 แอมแปร์ |
มิเตอร์ 400 เฟส 3 | 201-400 แอมแปร์ |
หากอยากรู้ว่าบ้านเราควรใช้ไฟไม่เกินกี่แอมป์ แนะนำให้เช็คจากขนาดมิเตอร์ที่ติดตั้ง เทียบกับตารางด้านบน โดยไม่ควรใช้ไฟฟ้าเกินขนาดมิเตอร์ และสามารถคำนวณจำนวนแอมป์รวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านได้จากสูตรนี้
“กำลังไฟฟ้าของอุปกรณ์ (วัตต์) / ความต่างศักย์ (โวลต์) x จำนวนอุปกรณ์ชนิดนั้น”
เช่น ตู้เย็นกินไฟ 90 วัตต์ / 220 โวลต์ x 2 ตู้ = 0.81 แอมป์
เครื่องปรับอากาศ 1,091 วัตต์ / 220 โวลต์ x 2 เครื่อง = 9.91 แอมป์
ขณะนั้นใช้ไฟฟ้า 0.81 + 9.91 = 10.72 แอมป์
4.ไกลจากแหล่งจ่ายไฟ แรงดันไฟฟ้าเลยลด
อีกหนึ่งสาเหตุของไฟตก ไฟกระชาก คือ ตำแหน่งของบ้านตั้งอยู่ห่างไกลจากแหล่งจ่ายไฟต้นทาง จนทำให้แรงดันไฟฟ้าที่ส่งมาตามสายไฟค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ ตามระยะทาง เพราะอยู่ปลายสายส่งไฟนั่นเอง แอร์ที่เปิดอยู่เย็น ๆ ก็อาจเกิดคอมแอร์กระชากไฟจนติด ๆ ดับ ๆ เสี่ยงแอร์เสียได้
และนี่ก็คือสาเหตุของไฟตก ไฟกระชาก ซึ่งอาจจะทำให้แอร์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ถัดมาเราไปดูปัญหาที่อาจตามมา จากไฟตก ไฟกระชากกัน
4 ปัญหาจากไฟตก ไฟกระชาก
1.อายุการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลง
การเกิดไฟตก ไฟกระชากบ่อย ๆ จะส่งผลเสีย ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นแอร์ ทีวี หรือพัดลมมีประสิทธิภาพการทำงานลดลง อาการเหล่านี้อาจทำให้วงจรภายในอุปกรณ์เสียหาย อายุการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าก็อาจจะสั้นลง จนทำให้ต้องเปลืองเงินซื้อใหม่ไวขึ้น
2.เครื่องใช้ไฟฟ้าพัง แอร์เสีย
เมื่อแรงดันไฟฟ้าที่ส่งมายังบ้านไม่ค่อยสม่ำเสมอ ไม่เสถียร จนเกิดไฟตก ไฟกระชากบ่อย ๆ นี่เป็นภัยร้ายที่อาจทำให้แอร์เสีย เครื่องใช้ไฟฟ้าแสนแพงอย่างทีวี หรือตู้เย็นที่บ้านพังได้ เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม และต้องรีบป้องกันไว้ด่วน ๆ
3.มอเตอร์อาจไหม้
หากที่บ้านคอมแอร์กระชาก หรือเปิดแอร์แล้วไฟตกบ่อย ๆ ซึ่งเป็นสัญญาณของอาการไฟกระชาก ไฟตก นี่จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และเกิดการสะสมความร้อนไว้บริเวณมอเตอร์ภายในตัวเครื่อง หากใช้งานไปนาน ๆ อาจทำให้มอเตอร์ไหม้ เกิดอันตรายได้
4.สร้างความรำคาญใจ
แน่นอนว่าการที่ทีวีติด ๆ ดับ ๆ ขณะกำลังดูซีรี่ส์เรื่องโปรด หรือเปิดแอร์เย็นฉ่ำในวันหยุดที่อากาศร้อน ๆ แล้วจู่ ๆ แอร์ก็หยุดทำงาน คงสร้างความรำคาญใจไม่น้อยเลยล่ะ นี่เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นจากอาการไฟตก ไฟกระชากที่ควรรีบแก้ไขเลย
ไฟตก ไฟกระชากก่อปัญหากวนใจขนาดนี้ ปล่อยไว้ก็มีแต่ผลเสีย วันนี้เราเลยมีวิธีป้องกันไฟกระชาก ไฟตกจนแอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเสียมาฝากกัน
4 ป้องกันไฟกระชากแอร์เสีย ทำยังไง ?
1.ใช้อุปกรณ์คุมแรงดันไฟฟ้า
บ้านไหนเกิดปัญหาไฟกระชากแอร์เสีย คอมแอร์กระชากบ่อย ๆ กลัวจะพังซะก่อน แนะนำให้ลองติดตั้งอุปกรณ์คุมแรงดันไฟฟ้า อย่าง Stabilizer หรือ AVR ซึ่งเป็นเครื่องที่ช่วยปรับแรงดันไฟฟ้าให้คงอยู่ที่ 220V อัตโนมัติ ในกรณีที่เกิดไฟตก ไฟกระชาก เท่านี้ก็เบาใจ ป้องกันเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเสียหายได้ระดับหนึ่งแล้ว
2.ใช้เครื่องสำรองไฟ
ใครจะอยากให้เครื่องใช้ไฟฟ้าราคาสูง ๆ อย่างแอร์ ตู้เย็น หรือคอมพิวเตอร์พังเพราะไฟตก ไฟกระชากกัน งั้นอาจลองติดตั้งเครื่องสำรองไฟ (UPS) ดู โดยเจ้าเครื่องนี้ทำหน้าที่หลัก ๆ คือ การสำรองไฟฟ้า ปรับระดับแรงดันไฟอัตโนมัติให้คงที่อยู่ที่ 220V รวมถึงใช้งานเป็นไฟฉุกเฉินในกรณีที่เกิดการไฟดับได้อีกด้วย เท่านี้ก็หมดกังวลเรื่องไฟกระชากแอร์เสีย คอมพังได้แล้ว
3.ใช้หม้อเพิ่มไฟฟ้า
อีกหนึ่งทางเลือกป้องกันปัญหาจากไฟตก ไฟกระชากเสี่ยงแอร์เสีย อาจเลือกใช้เป็นหม้อเพิ่มไฟฟ้า หรือที่เรียกกันว่า หม้อดึงไฟ ตัวช่วยจัดการควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในระดับคงที่ 220V เพื่อให้สามารถจ่ายกระแสไฟได้เป็นปกติ แต่ทั้งนี้ก็จะต้องอาศัยการปรับแรงดันด้วยตัวเองในกรณีที่เกิดไฟตก หรือไฟกระชากนั่นเอง
4.เลือกใช้แอร์ที่กันไฟตก ไฟกระชาก
เรื่องแอร์เรียกได้ว่าเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเมืองร้อนอย่างประเทศไทย ถ้าไม่อยากกังวลเรื่องไฟกระชากแอร์เสีย หรือเปิดแอร์แล้วไฟตก แนะนำเลือกเป็นแอร์ที่มีระบบป้องกันไฟตก ไฟกระชาก อย่าง เครื่องปรับอากาศ Daikin ในรุ่น FTKC-WV2S9 ด้วยแผงวงจร Super PCB Pro ทนทานเป็นพิเศษ แอร์ทำงานได้เย็นตามปกติแม้จะเกิดไฟตกถึง 150V รวมถึงทนทานแรงดันไฟสูงสุด 440V บอกลาปัญหาคอมแอร์กระชาก แค่เลือกไดกิ้นก็อุ่นใจเพราะรับประกันยาว ๆ ถึง 3 ปี
ขอบคุณแหล่งที่มา : https://testweb.daikin.co.th/service-knowledge/
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (cookie)
เราใช้คุกกี้เพื่อนำเสนอคอนเทนต์และโฆษณาที่ท่านอาจสนใจเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์ของเราต่อไปโดยไม่ได้ปรับการตั้งค่าใดๆ เราเข้าใจว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์ของเรา คลิกเพื่อดูข้อเพิ่มเติม